วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2561

บันทึกหลังการเรียนรู้ครั้งที่ 13

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561




        อาจารย์แนะนำวิธีการเขียนแผนผังความคิด ในหน่วยการเรียนรู้ต่างๆที่นักศึกษานำเสนอมา  
กลุ่มของดิฉัน  หน่วยยานพาหนะ  
เขียนแผนผังความคิดได้  
1.ประเภทของยานพาหนะ   ได้แก่  2 ล้อ    4 ล้อ   6 ล้อ   10 ล้อ
2.ลักษณะของยานพาหนะ   ได้แก่  สี    ขนาด   รูปทรง   ภาพประกอบ
3.การดูแลรักษายานพาหนะ    ได้แก่  ตรวจเช็คสภาพเครื่องยนต์ก่อนใช้งาน   ดูแลความสะอาดและบำรุงรักษายานพาหนะประจำวัน
4.ประโยชน์ของยานพาหนะ  ได้แก่   ใช้ในการเดินทาง  ใช้ในการขนส่ง   ใช้ในการประกอบอาชีพ
5.ข้อควรระวังและการปฏิบัติการใช้งานยานพาหนะ     ได้แก่   การเกิดอุบัติเหตุ   ก่อมลพิษทางอากาศ  การสวมหมวกกันน็อค    การคาดเข็มขัดนิรภัย

การจัดกิจกรรม 6  หลักกิจกรรม  
1.วันจันทร์        กิจกรรมเกมการศึกษา                  เรื่องประเภทของยานหนะ
2.วันอังคาร       กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์               เรื่องลักษณะของยานพาหนะ
3.วันพุธ            กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ เรื่องการดูแลรักษายานพาหนะ
4.วันพฤหัสบดี   กิจกรรมเสริมประสบการณ์             เรื่องประโยชน์ของยานพาหนะ
5.วันศุกร์           กิจกรรมกลางแจ้ง                        เรื่องข้อควรระวังและการปฏิบัติการใช้งานยานพาหนะ





ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนค่ะ
ประเมินเพื่อน  : เพื่อนมีขาดเรียนบาง มาสายบางค่ะ
ประเมินอาจารย์  : อาจารย์ในคำแนะนำในเรื่องที่ยังไม่เข้าใจค่ะ

บันทึกหลังการเรียนรู้ครั้งที่ 12

วันพุธที่  14 พฤศจิกายน พ.ศ.2561




วันนี้นักศึกษาได้ไปจัดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ที่มูลนิธิเด็กอ่อนในสลัมซอยเสือใหญ่


ฐานที่ 1 กิจกรรม ปั้มขวดและลิปต์เทียน    

                                          

                                          


                                          

ฐานที่ 2 กิจกรรม ลูกโป่งพองโต 

                                                 

                                                 

ฐานที่่ 3  กิจกรรม เรือดำนำ


                                                  

 ฐานที่ 4 กิจกรรม Shape of  Bub-Bub Bubble

                                                  

                                                  

ฐานที่ 5  กิจกรรม ลาวาปะทุ ภูเขาไฟระเบิด

                                                  

ประเมินตนเอง : วันนี้ตั้งใจมากค่ะ ในการจัดกิจกรรมให้เด็ก สนุกมากค่ะ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกกลุ่มให้ความร่วมมือกันดีมากค่ะ
ประมเินอาจารย์ : อาจารย์พูดสรุปกับเด็กๆอีกครั้งเพื่อให้เด็กได้จำ และเป็นการเตือนความจำกับสิ่งที่เด็กได้จัดกิจกรรมค่ะ

บันทกหลังการเรียนรู้ครั้งที่ 11

วันพธที่  7 พฤศจิกายน พ.ศ.2561



                       อาจารย์ให้นักศึกษาเขียนแผนผังการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ มากลุ่มละ 1 หน่วยการเรียนรู้ โดยแบ่งออกเป็น 5 วัน


                                         

หน่วยยานพาหนะ
1.ความหมาย
          วัตถุหรือสิ่งประดิษฐ์ที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายขนส่งไปได้ ซึ่งสร้างขึ้นโดยมนุษย์
2.ประเภทของยานพาหนะ
       - ทางบก   ได้แก่  รถยนต์   รถจักรยานยนต์  รถจักรยาน  รถไฟ   รรถบรรทุก
       - ทางน้ำ    ได้แก่   เรือ (เรือหางยาว    เรือสำเภา  เรือประมง)   เจ็ทสกี
       - ทางอากาศ    ได้แก่   เครื่องบิน   จรวด   เฮลิคอปเตอร์
3.การใช้งาน  
       -  น้ำมัน
       -  ก๊าซธรรมชาติ
4.การดูแลรักษา
       -  ตรวจเช็คสภาพเครื่องยนต์ก่อนการใช้งาน
       -  ดูแลความสะอาดและบำรุงรักษายานพาหนะประจำวัน
       -  นำยานพาหนะเข้าจอดเก็บในสถานที่จอดเก็บทันทีหลังการใช้งาน
5.ประโยชน์ของยานพาหนะ
       -  ใช้ในการเดินทาง
       -  ใช้ในการขนย้ายสิ่งของ
6.โทษของยานพาหนะ
       -  อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ หากไม่ใช้อย่างระมัดระวัง
       -  ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ



ประเมินตนเอง  : ช่วยเพื่อนคิดกิจกรรมค่ะ
ประเมินเพื่อน  : เพื่อนในกลุ่มร่วมมือกันดีค่ะ
ประเมิรอาจารย์ : อาจารย์อธิบายเสริมในจุดที่ไม่เข้าใจค่ะ

บันทึกหลังการเรียนครั้งที่ 10

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2561 


                                      


                                     
กิจกรรม  เรื่อง ปั้มขวดและลิปต์เทียน

ข้อแก้ไข 
1.อ่านขั้นตอนการทดลองก่อน  จากนั้นจึงเริ่มการทดลองไปทีละขั้นตอน
2.ระบุสัญลักษณ์ที่ขวดน้ำ  แปะชื่ออุปกรณ์ที่สำคัญ เพื่อให้เด็กเห็นได้ชัดเจน
3.การพูดตั้งประเด็นปัญหากระตุ้นเด็กๆให้ตั้งสมมติฐานขึ้นมาด้วยตัวเองเด็กๆเอง
4.การตั้งสมมติฐาน  

         1.ขวดน้ำที่ร้อนเมื่อคว่ำลงไปในจานน้ำสีจะเกิดอะไรขึ้น 
         2.ถ้าจุดเทียนแล้ววางในจานน้ำสี จากนั้นนำแก้วมาครอบเทียนจะเกิดอะไรขึ้น แล้วถามต่อว่า    ทำไมเทียนถึงดับ
5.การพูดสรุป   ในเรื่องที่ 2 การจุดเทียน  คือ  ความร้อนทำให้อากาศลอยสูงขึ้นน้ำจึงเข้าไปแทนที่ ออกซิเจนที่อยู่ในแก้วหมดไปเทียนจึงดับ


บันทึกหลังการเรียนรู้ครั้งที่ 9

วันพุธที่ 24 ตุลาคม  พ.ศ.2561 


เพื่อนนำเสนอคลิปวิดีโอการทดลองค่ะ
กิจกรรมลูกข่างหลากสี
ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
1.ตัดกระดาษเป็นรูปวงกลม  ติดลูกปิงปองให้อยู่จุดศูนย์กลางของแผ่นวงกลม
2.ตกแต่งระบายสีบนแผ่นวงกลมให้สวยงาม
3.ทดลองเล่น และให้เด็กๆสังเกตสีที่อยู่บนแผ่นวงกลมว่าเห็นสีอะไรบ้าง

สรุปผลการทดลอง
         เมื่อหมุนลูกข่างหลากสีแล้วจะเห็นเพียงสามสี ที่เป็นแม่สีเพียงเท่านั้น

                                          

กิจกรรมเรื่องแรงลม
ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
1.นำถ้วยโฟม มาเจาะรูวงกลมตรงกลาง 
2.จากนั้นนำแกนกระดาษทิชชู่มาติดตรงที่เจาะรูไว้
3.ทดลองเป่าลมลงไปในตรงรูกระดาษทิชชู่

สรุปผลการทดลอง
        เมื่อเป่าลมเข้าในรูทำให้เรื่อเคลื่อนที่ได้ เพราะแรงดันจากลมที่เป่าเข้าในรู

                                     

ประเมินตนเอง : ตั้งใจรับชมวิดีโอของเพื่อนๆค่ะ 
ประเมินเพื่อน  : วันเพื่อนก็มีขาดเรียนกันบางค่ะ บางส่วน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้คำแนะนำขั้นตอนการทอลอง และการพูดสรุปการทดลองค่ะ



บันทึกหลังการเรียนรู้ครั้งที่ 8

วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2561 


อาจารย์ให้ทำโครงการที่เกี่ยวกับการทดลองวิทยาศาสตร์  โดยเลือกการทดลองของแต่ละกลุ่ม 1 กิจกรรม
มีหลักการในการเขียนโครงการ  ดังนี้
1.ชื่อโครงการ
2.หลักการและเหตุผล
3.เวลาและสถานที่ /งบประมาณ
4.ตาราางการทำกิจกรรมต่างๆ
5.วิธีการประเมินผล
6.การแบ่งหน้าที่

                                       




กิจกรรมมี 5 ฐาน      
ฐานที่ 1  ลูกโป่งพองโต
ฐานที่ 2   "ลาวาปะทุ ภูเขาไฟระเบิด  
ฐานที่ 3   Shape of  Bub-Bub  Bubble  
ฐานที่ 4   ปั๊มขวดและลิปเทียน
ฐานที่ 5   เรือดำนำ




ประเมินตนเอง  : ช่วยเพื่อนในการคิดกิจกรรมค่ะ
ประเมินเพื่อน  : เพื่อนช่วยกันคิดกิจจกรมมและวางแผนกันดีค่ะ
ประเมินอาจารย์  : อาจารย์ช่วยพูดเสริมในจุดที่ไม่เข้าใจค่ะ

บันทึกหลังการเรียนรู้ครั้งที่ 7

วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2561


วันนี้อาจารย์ได้เปิดคลิปวิดีโอ เรื่องการทดลองฟองสบู่ให้ดูค่ะ แรงตึงผิวของน้ำ หรือปรากฏการณ์แคปปิราลี่  เกิดจากการที่น้ำมีโมเลกุลที่ยึดติดกันจึงทำให้เกิดแรงตึงผิว


กิจกรรมการทดลองฟองสบู่

                                        

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
1.เทน้ำใส่กะละมัง  1/4  ของขวดน้ำ และผสมน้ำยาล้างจาน  5 ช้อน คนให้เข้ากัน
2.ดัดลวดเป็นรูปทรงต่างๆ 
3.นำลวดที่ดัดเป็นรูปทรงต่างๆ พันกับลวดกำมะหยี่
4.นำลวดรูปทรงที่ตัด มาจุ่มน้ำในกะละมัง แล้วยกขึ้นมาเป่าเบาๆ

สรุปผลการทดลอง
    เมื่อผสมน้ำกับน้ำยาล้างจานแล้วเป่าจะเกิดฟองขึ้นมา  เพราะในน้ำยาล้างจานมีพื้นผิวที่ลื่นจึงทำให้เกิดฟองขึ้นมา


กิจกรรมการทดลองลูกโป่งลอยได้

                                         

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
1.นำเบคกิ้งโซดาใส่ในลูกโป่ง
2.นำน้ำส้มสายชูใส่ในขวดน้ำครึ่งขวด
3.นำลูกโป่งมาสวมเข้ากับขวดน้ำ
สรุปผลการทดลอง
     สรุปการทดลองเมื่อเบคกิ้งโซดาทำปฏิกิริยากับน้ำส้มสายชูทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทำให้ลูกโป่งลอยขึ้นมานั้นเอง

ประเมินตนเอง : ตั้งใจดูและฟังการทดลองของเพื่อนค่ะ 
ประเมินเพื่อน  : เพื่อนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกันดีค่ะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เพิ่มเสริมในจุดที่เพื่อนอธิบายไม่เข้าใจค่ะ

บันทึกหลังการเรียนรู้ที่ 6

วันพุธที่  3 ตุลาคม พ.ศ. 2561 



วันนี้เป็นการนำเสนอกิจกรรมที่เพื่อนได้ ของสัปดาห์ที่แล้วค่ะ (วันนี้ไม่ได้มาเรียนเนื่องจากป่วยเป็นไข้หวัดค่ะ เนื้อหาได้คัดลอกมาจากบล็อกนางสาวสุชัญญา  บุญญบุตร)

กิจกรรมที่   1    เรื่อง   ปั้มขวดลิปเทียน


สมมติฐาน/ปัญหา
     1.ขวดน้ำที่ร้อนจะเกิดอะไรขึ้นบ้างกับน้ำสี
     2.น้ำสีจะเกิดอะไรขึ้นกับเทียนที่จุดไฟ

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
       การทดลองที่   1 เขย่าขวดน้ำที่ร้อนแล้วเทน้ำร้อนออก   เทน้ำสีลงใส่จานที่ 1  จากนั้นคว่ำปากขวดลงบนจาน
       การทดลองที่   2 เทน้ำสีลงบนจานที่ 2  จุดเทียนวางไว้ในจาน   จากนั้นนำแก้วมาครอบ                   ปิดเทียนที่จุดไว้

สรุปผลการทดลอง
       การทดลองที่  1 เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นอากาศก็จะลอยขึ้นไปบนขวด ทำให้น้ำเข้าไปแทนที่
       การทดลองที่ 2  เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นอากาศในแก้วก็สสูงข้ึนตาม น้ำจึงเข้าไปแทนที่ทำให้ไฟดับลง

กิจกรรมที่  2   เรื่อง  แรงตึงผิว

สมมติฐาน/ปัญหา
      1.น้ำในแก้วจะทำอะไรได้บ้าง

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
       การทดลองที่  1  เทน้ำใส่ลงไปในแก้วน้ำให้เต็ม จนให้น้ำเกิดการนูนสูงขึ้นมา
       การทดลองที่  2  ใช้หลอดดูดน้ำแล้วไปหยดลงบนฝาขวดน้ำให้เต็ม จนให้น้ำเกิดการนูนสูงขึ้นมา
       การทดลองที่  3  ใช้หลอดดูดน้ำแล้วไปหยดลงบนเหรียญจนให้น้ำเกิดการนูนสูงขึ้นมา

สรุปผลการทดลอง
       น้ำมีแรงตึงผิว จึงทำให้น้ำไม่ล้นออกมาและทำให้สัตว์บางชนิดเดินบนผิวนน้ำได้  เช่น  ยุง แมลงปอ

กิจกรรมที่  5   เรื่อง  กระจกเงา

สมมติฐาน/ปัญหา
        1.ถ้าวาดรูปใส่กระดาษแล้วไปส่องกับกระจกจะเกิดอะไรขึ้น

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
        1.วาดรูปใส่กระดาษเพียงครึ่งรูป  แล้วนำไปส่องกับกระจก โดยวางกระดาษกับกระจกให้ตั้งฉากกัน
       
สรุปผลการทดลอง
         เกิดการสะท้อนของเงารูปภาพไปอีกฝั่ง จึงทำให้เห็นรูปภาพที่เต็มขนาด

ที่มา : https://eaed3207-102-07.blogspot.com 

บันทึกหลังการเรียนรู้ครั้งที่ 5

วันพุธที่  19 กันยายน  พ.ศ.2561





             อาจารย์แจกใบกิจกรรมบ้านวิทยาศาสตร์ให้กับแต่ละกลุ่มและให้สรุปเป็นกิจกรรมของแต่ละคนที่เลือกกิจกรรมวิทยาศาสตร์




กิจกรรมที่ได้คือ เกมทอยลูกเต๋า
1. ให้ครูออกแบบเกม โดยการวางวงกลมประมาณ 20 วงเรียงกัน
2. ครูแจกตัวการ์ตูน  เพื่อเป็นตัวแทนของแต่ละคนจากนั้นเริ่มต้นเกมโดยให้เด็กทุกคนทอยลูกเต๋าว่าได้กี่แต้ม และเดินตามจำนวนแต้มที่ได้
*จำนวนแต้มบนลูกเต๋าต้องแสดงเป็นจุด เพราะว่ากิจกรรมบางกิจกรรมเหมาะสำหรับเด็กเล็ก ซึ่งอาจไม่รู้จักตัวเลข จึงใช้จุดแทนจำนวนบนหน้าลูกเต๋านั่นเอง




ประเมินตนเอง   : ตั้งใจหังคำอธิบายจากอาจารย์ค่ะ
ประเมินเพื่อน    : เพื่อนให้ความร่วมมือภายในกลุ่มดีค่ะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารยือธิบายเข้าใจค่ะ  และมีการอธิบายเสริมในเรื่องที่ยังไม่เข้าใจค่ะ 




วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2561

สื่อการสอนวิทยาศาสตร์ เรื่อง...ค่ายนักวิทยาศาสตร์น้อย ระดับ อนุบาล 1 - 2 โรงเรียนสาธิต




ค่ายนักวิทยาศาสตร์น้อย ระดับ อนุบาล 1 - 2 โรงเรียนสาธิต


เป็นการรวมกิจกรรมของค่ายวิทยาศาสตร์น้อย ระดับ อนุบาล 1-2 ที่มีการจัดกิจกรรมไว้อย่างหลากหลาย




สามารถดูรายละเอียดของกิจกรรมได้ที่
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=0YDkBMdqNQw

วิจัยเรื่อง...ทักษะการสังเกตและการเปรียบเทียบของเด็กปฐมวยทั ี่ได้รับการจัดกิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์ด้วยการย้อมสี


ทักษะการสังเกตและการเปรียบเทียบของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์ด้วยการย้อมสี 



ความมุ่งหมายของการวิจัย 
การวิจยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาทักษะการสังเกตและการเปรียบเทียบของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ดวยการย้อมสี โดยเปรียบเทียบทักษะการสังเกตและการเปรียบเทียบ ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยการย้อมสี 

ความสําคัญของการวิจัย 
การวิจัยในครั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมการศึกษาสําหรับครู ผู้ปกครอง ผู้จัดการศึกษา รวมถึงผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับการศึกษาได้ทราบถึงผลของการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยการย้อมสีที่ส่งเสริมทักษะการสังเกตและการเปรียบเทียบของเด็กปฐมวัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 
 1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยการสีจํานวน 24 กิจกรรม 
 2. แบบทดสอบวัดทักษะการสังเกต 1 ชุด จํานวน 20 ข้อ
 3. แบบทดสอบวัดทักษะการเปรียบเทียบ 1 ชุด จํานวน 20 ข้อ 

วิธีการดําเนินการวิจัย 
1. ทําการทดสอบก่อนการทดลอง (Pretest) กับกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้แบบทดสอบวัดทักษะ การสังเกตและการเปรียบเทียบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
 2. ผู้วิจัยเน้นการทดลองด้วยตนเอง โดยกลุ่มตัวอย่างได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ด้วยการย้อมสีซึ่งทําการทดลองในกิจกรรมสร้างสรรค์ใช้ระยะในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ครั้งๆ ละ 40 นาทีรวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง
 3. หลังการเสร็จสิ้นการทดลอง ผู้วิจัยทำการทดสอบหลังการทดลอง  (Posttest) กับกลุ่ม ตัวอย่างโดยใช้แบบทดสอบวัดทักษะการสังเกตและการเปรียบเทียบฉบับเดียวกับแบบทดสอบที่ใช้ ก่อนการทดลองแล้วตรวจให้คะแนนตามเกณฑที่กำหนด 
 4. นําคะแนนที่ได้จากการทดสอบวัดทักษะการสังเกตและการเปรียบเทียบมาทำการวิเคราะห์ข้อมูล



สรุปผลการวิจัย  
1. หลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยการย้อมสีเด็กปฐมวัยมีทักษะการสังเกต สูงขึ้นอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 
2. หลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยการย้อมสีเด็กปฐมวัยมีทักษะการ เปรียบเทียบสูงขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

ที่มา : http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ear_Chi_Ed/Porntip_K.pdf

บทความเรื่อง....การสอนผิดๆ ทำให้นักเรียนไทยเกลียดวิทยาศาสตร์


การสอนผิดๆ ทำให้นักเรียนไทยเกลียดวิทยาศาสตร์ห้องเรียนที่ต้องเริ่มทดลอง กับ ‘ดร.โก้’


เกลียดวิทย์ฯ ตั้งแต่เด็ก? ไม่ต้องแปลกใจ เพราะวิชาวิทยาศาสตร์มักสอนคุณแบบผิดๆ เสมอ และเป็นไปได้ไหมที่การเรียนวิทยาศาสตร์จะช่วยปลุกหัวใจการเป็นนักทดลองของเด็กๆ
“พืชใบเลี้ยงเดี่ยวต่างจากพืชใบเลี้ยงคู่อย่างไร”
อยากรู้ก็เปิดไปหน้าถัดไปสิ หนังสือบอกไว้หมดแล้ว!
 กลายเป็นว่า เราเรียนวิทยาศาสตร์ทุกอย่างจากในตำรา หน้าที่ของคุณคือการท่องจำ ใครจำได้มากกว่าก็ตอบข้อสอบได้ โดยเขาอาจจะไม่เคยแยกแยะพืชใบเลี้ยงเดี่ยวหรือพืชใบเลี้ยงคู่ได้เลยด้วยซ้ำทั้งชีวิต นอกจากภาพประกอบในหนังสือเรียน
เด็กๆ ถูกปิดกั้นการเรียนรู้ในช่วงเวลาที่ดีที่สุด 4 – 7 ขวบ ทำไมการเรียนวิทยาศาสตร์ไทยภายใต้ระบบการศึกษาถึงไม่สร้างแรงบันดาลใจเลย? กลายเป็นว่าพวกเราค่อยๆ หันหลังให้กับวิทยาศาสตร์ทีละน้อยในตลอดช่วงอายุขัยของพวกเรา
อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ที่ขนมาทำการทดลอง ดูเหมือน ‘กองขยะ’ มากกว่าหลอดทดลองหรือบีกเกอร์ขนาดมาตรฐาน ประเมินด้วยสายตาแล้วสนนราคาไม่น่าจะถึง 200 บาท (ไม่รวมเตาแก๊สและเครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดอ่ะนะ) ขวดพลาสติก กระป๋องอะลูมีเนียม อ่างน้ำ ต่างเป็นของเหลือใช้ที่บ้านใครก็มี (ขวดนมถั่วเหลืองยังมีถั่วติดอยู่เลยด้วยซ้ำ) แต่เด็กๆ กลับมองข้ามรูปลักษณ์ขี้เหร่เหล่านี้ เพราะพวกเขากำลังลุ้นว่าจะได้เห็นปรากฏการณ์อะไรที่ตื่นตามากกว่า
“การเข้าใจสิ่งรอบตัวมันก็ไม่จำเป็นต้องลงทุนมากมายอะไรหรอก มันอยู่ที่ ‘คนเรียน’ มากกว่าอุปกรณ์ ก็เลยพยายามทำออกมาให้ใครๆ ก็ทำได้”
 เสียงตูมตามและไฟวูบวาบเกิดเรียกเสียงโห่ร้องของเด็กๆ เมื่อ ดร.โก้ นำกระป๋องน้ำที่ต้มจนเดือดไปแช่ในน้ำอุณหภูมิที่ต่างกันอย่างกะทันหัน หรือเปลวไฟในขวดพลาสติกที่ชโลมด้วยแอลกอฮอล์ล้างแผล เด็กๆ เริ่มแสดงความคิดเห็นด้วยสมมติฐานต่างๆอย่างออกรส
เด็กๆจดบันทึกการทดลองในสมุดเล็กๆ ด้วยลายมือยุกยิก แต่ก็ละเอียดยิบพอตัว ทำไมเราถึงไม่เห็นแบบนี้ในระบบการศึกษาภาคบังคับอื่นๆบ้าง โดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์ ดร.โก้ บอกกับเราว่า
มันจะเรียนรู้ได้ ก็ต่อเมื่อคิดได้เองก่อน ทำอะไรเองได้ แต่สิ่งที่เราเรียนกันที่ประเทศไทย เป็นการทำลายให้คนที่ยังมีศักยภาพในการเป็นนักวิทยาศาสตร์ ให้หายไปเป็นล้านคน ทำลายเด็กๆ เหล่านั้นไปเลย กลายเป็นว่าคนพอโตขึ้นคนในประเทศเกลียดวิทยาศาสตร์ เกลียดคณิตศาสตร์ ซึ่งจริงๆ มันไม่ควรเกลียด มันเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษยชาติพัฒนาของเจ๋งๆ ออกมา
“แต่การเรียนวิทยาศาสตร์บ้านเรา คือจำมาแล้วตอบแข่งกัน แล้วก็แก้สมการยากๆ โดยที่พื้นฐานยังไม่ดี คนผ่านมันก็ผ่านได้ คนสอบตกก็เกลียดไปเลย ไม่มีใครซาบซึ้งวิทยาศาสตร์แล้วก็ลืมไปเสียง่าย  แทนที่จะเข้าใจอะไรลึกซึ้ง เห็นความคล้องจองและความสวยงามรายรอบตัว ผมว่ามันเสียเวลาในชีวิตของพวกเขาและเสียโอกาสด้วย”
วิทยาศาสตร์ในนิยามของผมเป็นกระบวนการในการเข้าใจอะไรก็ตาม โดยใช้หลักทางวิทยาศาสตร์ พยายามอธิบาย พยายามเดา แล้วทดลองด้วยตัวเอง พอมนุษยชาติเริ่มใช้ปัญญา เริ่มใช้วิทยาศาสตร์ มันจะเติบโตเร็วมาก”
ที่มา :https://thematter.co/byte/dont-hate-science-yet-learn-it-with-dr-ko/19775


บันทึกหลังการเรียนรู้ครั้งที่ 4

วันพุธ  ที่ 29 สิงหาคม 2561


     ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
  ทักษากระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตูผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตมวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเด็ก


มาตรฐานด้านผู้เรียน
-มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย
-มาตรฐาน มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์  คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ และมีความคิดสร้างสรรค์

สมองกับวิทยาศาสตร์
1.ตีความข้อมูลที่ได้รับเพื่อทำความเข้าใจ
2.หาเหตุผลเชื่อมโยงสิ่งที่คิดขึ้นเพื่อสืบค้นความจริง
3.ประเมินคุณค่าของสิ่งต่างๆเพื่อการตัดสินใจ
4.จำแนกองค์ประกอบเพื่อให้เห็นภาพรวมทั้งหมดของเรื่องนั้น






สิ่งที่กำหนดให้ 
สังเกต / จำแนก / วัต / สื่อความหมาย /ลงความเห็น / หาความสัมพันธ์ / การคำนวณ / เช่น วัตถุ สิ่งของ เรื่องราว เหตุการณ์หรือปรากฎการณ์ต่างๆ

หลักการหรือกฎเกณฑ์
เป็นข้อกำหนดสำหรับใช้แยกส่วนประกอบของสิ่งที่กำหนดให้ เช่น เกณฑ์ จำแนกสิ่งที่เหมือนกันหรือแตกต่างกัน

การค้นหาความจริงหรือความสำคัญ
เป็นการพิจารณาส่วนประกอบของสิ่งที่กำหนดให้ ตามหลักเกณฑ์แล้วทำการรวบรวมประเด็นที่สำคัญเพื่อหาข้อสรุป

           


เรื่อง...กระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์ค่ะ
ขั้นที่ 1 กำหนดสิ่งที่ต้องการศึกษา
ขั้นที่ 2 กำหนดปัญหาหรือวัตถุประสงค์
ขั้นที่ 3 กำหนดหลักการหรือกฎเกณฑ์
ขั้นที่ 4 พิจารณาแยกแยะ
ขั้นที่ 5 สรุปคำตอบ



ประเมิน
ประเมินตนเอง : วันนี้อาจารย์ได้เตือนเรื่องเล่นโทรศัพท์ค่ะ จะปรับปรุงตัวใหม่ค่ะ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมดีค่ะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนดีค่ะ